top of page

SKYACTIV-BODY โครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟ

รถหนัก...กินน้ำมันกว่า
รถที่เบากว่า...ปลอดภัยกว่าและไปได้เร็วกว่า

มีความจริงที่ใครหลายคนไม่เคยรู้...การที่รถกินน้ำมัน สาเหตุใหญ่มาจากน้ำหนักของตัวรถเอง เหมือนคนอ้วนที่เหนื่อยง่ายและอืดอาดเมื่อต้องวิ่ง เพราะคนอ้วนต้องใช้พลังงานมากกว่าในการที่จะพาน้ำหนักมหาศาลให้เคลื่อนที่ไปได้เร็ว ความเชื่อเดิมๆ ถูกท้าทายและพิสูจน์แล้วด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ตัวถังน้ำหนักเบากลายเป็นวิทยาการที่เข้ามาแทนที่ตัวถังที่หนักเทอะทะ

เทคโนโลยีโครงสร้างตัวถัง SKYACTIV-BODY คือ 1 ใน 5 นวัตกรรมใหม่ของรถจากเทคโนโลยีสกายแอคทีฟของมาสด้า

ทั้งแข็งแรงทั้งปลอดภัย และไปได้เร็ว เพราะ...

  • โครงสร้างตัวถังในอุดมคติ ที่เสริมความปลอดภัยจากการชนปะทะ เพราะใช้วัสดุเหล็กกล้าที่ทนแรงดึงสูง High Tensile Steel และการออกแบบโครงสร้างที่มีแนวรับแรงหลายทิศทาง

  • เทคโนโลยีการเชื่อมตัวถังประสิทธิภาพสูง และเพิ่มจำนวนจุดเชื่อมในกระบวนการผลิต

สกายแอคทีฟ-บอดี้ ที่ให้น้ำหนักเบา พร้อมความปลอดภัยที่เหนือกว่า

แข็งแรงและให้ความปลอดภัยในระดับสูง แต่น้ำหนักเบากว่าเดิม? นักออกแบบของมาสด้ากลับไปที่กระดานวาดภาพในการออกแบบ “สกายแอคทีฟ-บอดี้ (SKYACTIV – BODY)” ลดน้ำหนักส่วนเกินลง 8%* ทำให้ช่วยประหยัดน้ำมันมากขึ้น โดยโครงสร้างตัวถังใหม่ทำให้ตัวรถมีความแข็งแกร่งมากขึ้น 30%* ทำให้ลดการสั่นสะเทือนและเสียงรบกวน มอบประสบการณ์การขับขี่ที่สนุก แต่ปลอดภัย

*เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์แบบเดิม

จุดเด่น

  • น้ำหนักลดลง 8% โดยใช้โครงสร้างตัวถังที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ และใช้เหล็กกล้าทนแรงดึงสูงในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น

  • พลศาสตร์ของการขับขี่ที่ดีขึ้น เนื่องจากความแข็งแรงเพิ่มขึ้น 30% ที่เป็นผลมาจากแนวคิด “โครงสร้างตรง” และ “งานโครงกรอบแบบต่อเนื่อง”(โครงสร้างวงแหวน) สำหรับชิ้นส่วนโครงสร้าง

  • ความปลอดภัยหลังการชนขั้นสูงสุด โดยการพิจารณาโซนการรับแรงปะทะด้วยแนวกการรับแรงที่หลากหลายทิศทาง

วิศวกรรมน้ำหนักเบา: ความเชี่ยวชาญของมาสด้า

มาสด้าให้ความสำคัญในเรื่องน้ำหนักอย่างมาก ตามหลักกลศาสตร์ที่ปลอดภัยแล้ว รถยนต์ที่มีน้ำหนักเบากว่าจะให้ประสิทธิภาพและความสนุกในการขับขี่มากกว่า ใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยกว่า และปลอดภัยกว่าเมื่อลดความเร็ว น้ำหนักของรถที่เบากว่านั้นเป็นผลดีต่อสมรรถนะของรถยนต์โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นอัตราเร่ง การบังคับรถ หรือการเบรก ในทางกลับกัน หากรถมีโครงสร้างที่น้ำหนักมาก ยิ่งหนักเทอะทะ และยิ่งต้องการเครื่องยนต์ที่หนักเพียงพอที่จะพารถนั้นไปได้ ที่สำคัญต้องการถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณที่มากขึ้น

หากมองรถโรดสเตอร์ยอดขายอันดับหนึ่งของโลกของมาสด้า อย่างเช่น MAZDA MX-5 แล้วจะเห็นถึงความคล่องแคล่วและสมรรถนะที่อยู่คู่กัน และจะเห็นถึงการพัฒนายนตรกรรมที่ได้เปลี่ยนยุคไปแล้ว น้ำหนักตัวรถที่เบากว่า ให้ความเพลิดเพลินในการขับขี่ดีกว่า ควบคุมรถดีกว่า บังคับเลี้ยวได้อย่างกระฉับกระเฉง การวางสมดุลหน้า-หลังทำได้อย่างสมบูรณ์ และจุดศูนย์กลางมวลต่ำที่ช่วยรักษาเสถียรภาพของรถเมื่อใช้ความเร็วสูง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นข้อได้เปรียบที่ได้จากรถที่น้ำหนักเบากว่า

 

อีกตัวอย่างของวิศวกรรมน้ำหนักเบาที่มีชื่อเสียงของมาสด้า คือ มาสด้า2 รุ่นที่สอง ที่เริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โครงสร้างตัวรถมีน้ำหนักเบากว่ารุ่นแรกถึง 100 กิโลกรัม เป็นรถที่อยู่ในกลุ่มบีคาร์ที่มีแนวโน้มพัฒนาไปทางรถขนาดใหญ่ขึ้นและหนักมากขึ้น มาสด้า2 นี้ได้ถูกออกแบบให้ได้ความประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้นขณะที่มีความปลอดภัยสูงขึ้น

วิธีการที่ไม่เหมือนใครในช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ใช้รถ

แนวทางที่ไม่เหมือนใครนี้เป็นหัวใจของการพัฒนาเทคโนโลยีสกายแอคทีฟของมาสด้า เริ่มตั้งแต่การพัฒนาเครื่องยนต์สกายแอคทีฟ ต่อเนื่องมาจนถึงโครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟและช่วงล่างสกายแอคทีฟ แทนที่จะจำกัดความคิดจดจ่ออยู่กับเพียงแค่เปลี่ยนการใช้วัสดุ จากประเภทหนึ่งไปสู่อีกประเภทหนึ่งที่ให้คุณภาพดีกว่าแต่ราคาก็แพงกว่า เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ หรือ อลูมินัม เพราะนั่นเท่ากับเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ผู้ใช้รถ มาสด้าเลือกวิธีที่ไม่เหมือนใครโดยใช้วิศวกรรมน้ำหนักเบาช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้า และรักษา "ความเป็นหนึ่งเดียวของรถกับผู้ขับ" ให้คงไว้ วิธีที่ว่านี้ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1) ใช้การออกแบบหาโครงสร้างตัวถังที่เหมาะสม 2) ใช้กระบวนการผลิตแบบใหม่ 3) ใช้วัสดุอื่นทดแทนเพื่อรักษาน้ำหนักของรถยนต์ให้เบากว่า แข็งแรงกว่า และปลอดภัย

ผลลัพธ์คือ โครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟใหม่มีน้ำหนักเบาขึ้นถึง 8% เมื่อเทียบกับตัวถังรุ่นก่อน ในขณะที่ช่วงล่างสกายแอคทีฟมีน้ำหนักเบาขึ้นอีก 14% มาสด้าตั้งเป้าพัฒนารถรุ่นใหม่ให้เบากว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 100 กิโลกรัม วิศวกรรมน้ำหนักเบายังส่งผลดีกับส่วนอื่นของเทคโนโลยีสกายแอคทีฟด้วย เช่น ช่วยเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์สกายแอคทีฟ

โครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟ SKYACTIV-BODY

คำสัญญาของมาสด้าที่มีต่อ "ซูม-ซูม อย่างยั่งยืน" คือสิ่งที่กระตุ้นฝ่ายวิจัยและพัฒนาให้ออกแบบรถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยนานาชาติที่เข้มงวดอย่างมาก แต่ก็ยังคงมอบความเพลิดเพลินในการขับขี่อย่างเต็มที่

น้ำหนักที่ลดลงเปลี่ยนรถให้แข็งแกร่งขึ้นมาสด้าเลือกใช้โครงสร้างแนวตรงและโครงสร้างต่อเนื่อง

โครงสร้างตัวถังที่แข็งแกร่งและน้ำหนักเบาได้จากการวางชิ้นส่วนบนรถให้เป็นแนวตรงเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้การส่งแรงผ่านชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไปได้อย่างประสิทธิภาพสูงสุด ทีมวิศวกรต้องหาความเหมาะสมในการส่งผ่านแรงให้กระจายไปทั่วทั้งโครงสร้างและไม่ให้รวมกันอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง วิศวกรของมาสด้าได้ออกแบบการวางแบบแนวตรงให้ต่อเนื่องจากด้านหน้าถึงด้านหลัง และพยายามเอาส่วนโค้งออกจากโครงสร้างให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่งยึดระบบช่วงล่างด้านหลังได้ถูกเชื่อมโดยตรงเข้ากับโครงกรอบด้านใต้ตัวถัง เป็นที่รู้จักกันดีว่า "แกนค้ำยันคู่" (dual brace) นอกจากนี้ ยังใช้โครงสร้างวงแหวนในแนวตั้งสี่จุด เพื่อเชื่อมด้านบนตัวถังติดกับบริเวณที่เสริมความแข็งแรงด้านใต้ตัวถัง เป็นการเพิ่มความแข็งแรงโดยรวม ในขณะเดียวกัน มาสด้าไม่เพียงแต่เพิ่มความแข็งแรงของตัวถังในแต่ละจุด แต่มองไปถึงการปรับปรุงหมดทั้งคัน รวมถึงเสริมคานขวางสำหรับระบบรองรับตัวถังที่พัฒนาขึ้นใหม่ ในกระบวนการพัฒนาได้หาตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดของจุดยึดตัวถังเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

โครงสร้างรับแรงในหลายแนวสำหรับความปลอดภัยที่เหมาะสมที่สุด

หลักการสำคัญประการหนึ่งของมาสด้าคือปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยของรถหลังการชนปะทะหรือความปลอดภัยเชิงปกป้อง ดังนั้น บริษัทได้พัฒนาโครงสร้างรับแรงในหลายแนวจากหลากหลายทิศทางที่ไม่เหมือนใคร สำหรับโครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟ เป็นโครงสร้างดูดซับแรงที่มีประสิทธิภาพเมื่อเกิดการชน โดยเทคนิคการกระจายแรงไปตามชิ้นส่วนต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ในระหว่างการชนจากด้านหน้า พลังงานจากการชนจะถูกดูดซับและกระจายมาจากด้านหน้าไปตามเส้นทาง 3 เส้น หรือที่เรียกว่า "แนวรับแรง" ขึ้นไปสู่เสาคู่หน้า (A-pillar)

ลงไปสู่ใต้โครงสร้างตัวถัง และผ่านแนวกลางกระจายไปยังด้านข้างของตัวรถ โครงกรอบด้านบนต้องรับหน้าที่หลายอย่าง ไม่แต่เพียงกระจายพลังงานไปยังเสาคู่หน้า แต่ยังต้องต้านการเคลื่อนที่ขึ้นของโครงกรอบด้านหน้าด้วย เพราะอาจส่งผลลบต่อการกระจายพลังงานออกไปจากห้องโดยสาร แม้กระทั่งประตูของโครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟยังทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทก โครงสร้างรับแรงในหลายแนวยังถูกใช้กับการกันกระแทกด้านข้างด้วย ซึ่งเป็นการปรับปรุงความปลอดภัยขั้นสูงสุดให้แก่ผู้โดยสาร

การเชื่อมและจุดเชื่อมที่มากขึ้นในกระบวนการผลิตใหม่

มาสด้าเพิ่มการเชื่อมตรงส่วนรางหลังคาเพื่อสร้างโครงสร้างเสริมแรงรูปวงกลมคล้ายวงแหวน ในกระบวนการประกอบตัวถังเข้าแบบเดิม โครงสร้างนี้จะถูกแยกออกจากส่วนของเสาซี (C-pillar) แต่ในกระบวนการผลิตแบบใหม่ ชิ้นส่วนถูกนำมาเชื่อมติดกันรวมเป็นหน่วยเดียวกันก่อนแล้วค่อยส่งไปยังสายการประกอบ วิธีเดียวกันนี้ยังถูกนำไปใช้ตรงส่วนของซุ้มล้อเช่นกัน นอกจากนี้มาสด้ายังเพิ่มจำนวนจุดเชื่อมยึดตัวถังอันมีผลอย่างมากต่อการเพิ่มความแข็งแรงให้แก่โครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟ

แข็งแกร่งขึ้นแต่น้ำหนักเบาลงด้วยการใช้เหล็กกล้าทนแรงดึงสูงทดแทน

เหล็กกล้าทนแรงดึงสูง หรือ High Tensile Steel ที่มีคุณสมบัติเหนียว ทนทาน และน้ำหนักเบากว่าเหล็กที่เคยใช้ในการผลิตแบบเก่า ถูกเพิ่มปริมาณเข้าไปในโครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟจาก 40% เป็น 60% ช่วยลดน้ำหนักตัวถัง ขณะเดียวกันก็เพิ่มความแข็งแรงให้แก่รถอีกระดับ และสิ่งนี้ได้ถูกพิสูจน์แล้วจากความสำเร็จของโครงสร้างตัวถังสกายแอคทีฟ ที่มีน้ำหนักเหมาะสมและแข็งแรงที่สุด

bottom of page